เมนู

ทั้งหลาย รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า เวทนา
เป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็น
อัตตาเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อนัตตเหตุสูตร

10. อานันทสูตร



ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ 5



[48] กรุงสาวัตถี. ในอาราม ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับเรียกว่านิโรธ ความดับแห่งธรรม
เหล่าไหนแล เรียกว่านิโรธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์
รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็น
ธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรียกว่านิโรธ
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณ
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป

เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เรียกว่านิโรธ ดูก่อนอานนท์
ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ
จบ อานันทสูตร
จบ อนิจจวรรคที่ 2

อรรถกถาอานันทสูตรที่ 10



พระสูตรสุดท้ายในอนิจจวรรค เป็นไปด้วยอำนาจคำถามบท
ที่เหลือ พระองค์ทรงแสดงด้วยอำนาจแห่งผู้มีปัญญาตรัสรู้โดยประการนั้น ๆ.
จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาอนิจวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนิจจสูตรที่ 1 2. ทุกขสูตรที่ 1 3. อนัตตสูตรที่ 1
4. อนิจจสูตรที่ 2 5. ทุกขสูตรที่ 2 6. อนัตตสูตรที่ 2 7. อนิจจ-
เหตุสูตร 8. ทุกขเหตุสูตร 9. อนัตตเหตุสูตร 10. อานันทสูตร